เพลิดเพลินชมร้านของเล่นโบราณ ที่สามชุก ตลาด 100 ปี

dsc01627 dsc01628 dsc01640

dsc01624 dsc01639 dsc01626

ทริปนี้ผมได้พาครอบครัวติดสอยห้อยตามไปด้วย การมาสุพรรณฯครั้งนี้จึงหนักไปในการท่องเที่ยวและหาอาหารอร่อยๆ รับประทานกัน ซึ่งแต่ละร้านก็แสนจะสุขสมอารมณ์หมายกันทุกมื้อ สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวที่ผมจะขอกล่าวถึงนี้ บางคนอาจจะรู้สึกเฉยๆ แต่กลับบางคนอาจรู้สึกได้ว่าเมื่อได้มาเยือนแล้วทำให้มีชีวิตชีวาขึ้น เช่นผมเป็นต้น…

ผมเลือกที่จะกล่าวถึง สามชุก ตลาด 100 ปี เนื่องมาจาก เกิดความประทับใจเป็นการส่วนตัว ระหว่างพ่อต้น และ ลูกปอนด์ ในแง่มุมมองของการที่ได้แวะชมร้านของเล่น ทั้งเก่า และ ใหม่ ตลอดสองข้างทาง ที่น่าตื่นตาตื่นใจในรูปแบบของการนำเสนอและจัดวาง ไม่ว่าจะเป็น ร้านของเล่นสังกะสี ร้านของเล่นตุ๊กตุ่น ตุ๊กตา และยอดมนุษย์ต่างๆ ที่เรียกความรู้สึกในวัยเด็กกลับมาได้มากมายจริงๆ…

และเพราะความรู้สึกที่สนุก ในช่วงระหว่างวันหยุดปีใหม่ 2551- 2552 ที่ผ่านมา ผมจึงได้ยกโขยงพาครอบครัวใหญ่ๆ ทั้งคุณยาย คุณย่า คุณอา ร่วมเดินทางกลับไปเยือนที่ สามชุก ตลาด 100 ปี กันอีกครั้ง ซึ่งก็ห่างจากครั้งแรกเพียงแค่ไม่ถึง 2 เดือน เท่านั้น …

ผมขอถือโอกาสนี้ คัดลอกประวัติ และเรื่องราวความเป็นมาของ สามชุก ตลาด 100 ปี มาให้ผู้ที่สนใจได้อ่านเพิ่มเติมกัน ดังนี้..

“สามชุก เป็นเมืองเล็กๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี โดย ในอดีตสามชุกคือแหล่งที่ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งไทย จีน มอญ ฯลฯ มามีสัมพันธ์ต่อกันในลักษณะของการแลกเปลี่ยน และซื้อขายสินค้า จนพัฒนาไปสู่ การลงหลักปักฐาน สร้างเมืองที่มั่นคงขึ้นมาตาม ประวัติของเมืองสามชุก กล่าวไว้ว่า ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2437 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เดิมชื่ออำเภอ “นางบวช” ตั้งอยู่บริเวณ ตำบลนางบวช โดยมีขุนพรมสภา (บุญรอด) เป็นนายอำเภอคนแรก ซึ่งยังมีภาพถ่ายปรากฎอยู่จนถึงปัจจุบัน

ต่อมาในปี 2457 ต้นรัชกาลที่ 6 ได้ย้ายอำเภอมาตั้งที่บ้าน “สำเพ็ง” ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญในสมัยนั้น จนกระทั่งปี 2481 สมัยรัชกาลที่ 8 ได้เปลี่ยนชื่อจาก “อำเภอนางบวช” มาเป็น “อำเภอสามชุก” และย้ายมาตั้ง อยู่ริมลำน้ำสุพรรณบุรี (ท่าจีน) ซึ่งแยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยผ่านคลอง มะขามเฒ่า

แต่เดิมบริเวณที่ตั้งอำเภอสามชุกเรียกว่า “ท่ายาง” มีชาวบ้านนำของป่าจากทิศตะวันตกมาค้าขายให้กับพ่อค้าที่เป็นชาวเรือ บ้างก็มาจากทางเหนือ บ้างก็มาจากทางใต้ เป็น 3 สาย จึงเรียกบริเวณที่ค้าขายนี้ว่า “ สามแพร่ง “ ต่อมาได้เพี้ยน เป็น สามเพ็ง และสำเพ็งในที่สุด ดังปรากฎหลักฐานกล่าวไว้ในนิทานพื้นบ้านย่านสุพรรณมีเรื่องกล่าวต่อไปว่า ในระหว่างที่คนมารอขายสินค้าก็ได้ตัดไม้ไผ่มาสานเป็นภาชนะสำหรับใส่ของขาย เรียกว่า “กระชุก” ชาวบ้านจึงเรียกว่า “สามชุก” มาถึงปัจจุบัน

อำเภอสามชุกเดิมมีพื้นที่ 774.9 ตารางกิโลเมตร ต่อมาในปี 2528 ได้มีการตั้งอำเภอหนองหญ้าไซ จึงแบ่งบางส่วนออกไป ยังคงเหลือเพียง 362 ตารางกิโลเมตร 

ตลาดสามชุก เป็นตลาดสำคัญในการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญในอดีต ตั้งแต่เมื่อ 100 กว่าปีก่อน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสุพรรณบุรี แต่เมื่อถนนคือ เส้นทางจราจรทางบกที่เข้ามาแทนที่การเดินทางทางน้ำ ทำให้คนหันหลังให้กับแม่น้ำท่าจีน ความสำคัญของตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าริมน้ำเริ่มลดลง บรรยากาศการค้า ขายในตลาดสามชุกเริ่มซบเซา และเมื่อต้องแข่งขันกับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และตลาดนัดภายนอก ทำให้ร้านค้าภายในตลาดต้องหาทางปรับตัว และเมื่อราชพัสดุ เจ้าของที่ดินที่ชาวบ้านเช่าที่ดินมายาวนาน ดำริจะรื้ออาคารตลาดเก่า สร้างตลาดใหม่ จึงทำให้ชาวบ้านพ่อค้าที่อยู่ในตลาดสามชุก ครูอาจารย์ที่เห็นคุณค่าตลาดเก่า รวมตัวเป็นคณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกเชิงอนุรักษ์ระดมความคิด หาทางอนุรักษ์ตลาดและที่อยู่ของตนไว้ และหาทางฟื้นคืนชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้ง เป็นที่มาของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ใช้การท่องเที่ยวศึกษาวิถีชีวิตชุมชนดั้งเดิม ประวัติศาสตร์ชุมชน เป็นเครื่องมือการพัฒนาอาคารไม้เก่าแก่ ในตลาดสามชุก ที่ก่อสร้างเป็นแนวตั้งฉากกับแม่น้ำท่าจีน เป็นสิ่งบอกให้รู้ว่าเป็นลักษณะของตลาดจีนโบราณ เป็นชุมชนชาวไทย-จีน ที่ยังคงอยู่มาถึงปัจจุบัน ลวดลายฉลุไม้ที่เรียกว่าลายขนมปังขิง ซึ่งเท่าที่พบในตลาดนี้มีถึง 19 ลาย คือ ศิลปะตกแต่งอาคารไม้โบราณ ที่หาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน หากไม่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ก็ย่อมสูญหายไปเช่นเดียวกับตลาดโบราณอื่นๆนอก จากสถาปัตยกรรม อาคารไม้โบราณที่พบเห็นได้ตลอดแนวทางเดิน 2 ข้างทางเดินในตลาด

วิถีชีวิตบรรยากาศภายในตลาดการค้าขายที่ยังคงรักษาวิถีแบบดั้งเดิมเช่นใน อดีต และบรรยากาศน้ำใจอัธยาศัยไมตรีของแม่ค้า ข้าวของเครื่องใช้ ขนมอาหารที่นำมาตั้งขายในตลาด เป็นสิ่งยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน ไม่ใช่สิ่งที่จำลองมาเพื่อให้ผู้ชมได้ดูชั่วครั้งชั่วคราว แต่เหล่านี้คือ วัฒนธรรมที่สืบเนื่องจากอดีต บ่มเพาะมาเป็น 100 ปี

 

นักท่องเที่ยวจะสามารถสัมผัสได้ ไม่รู้เบื่อ อิ่มตา อิ่มใจ อิ่มท้องอย่างไม่รู้ตัว และทำให้ตลาดสามชุก แห่งนี้ได้รับขนานนามว่าตลาด 100 ปี พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต

ข้อมูลจากเว็บ : สามชุก ตลาด 100 ปี

 

6 ความเห็น »

  1. ของเยอะมากจริงๆน่าเดินมากๆไปมาหลายหนแล้วครับ

  2. นิพนธ์ครับพี่ กำลังหาของเล่นสังกะสีอยู่ เซิ้จมาเจอเว็บพี่ต้นเฉยเลย ตลาดนี้ดูร่มรื่นน่าเดินนะครับ แล้วร้านที่ขายของเล่นสังกะสีไขลานเนี่ย ชอบตัวที่เป็นหุ่นยนต์สังกะสีครับ ดูน่าซื้อมาสะสมไว้บ้างก็ดีครับ แวะมาทักทายเล็กน้อยครับ

  3. อ้าว..หวัดดีครับตุ้ย…ของเล่นสังกะสี (เก่าจริงๆ) พี่ก็มีเก็บไว้บ้างนิดหน่อย แต่ไม่ได้หาตามตลาดแบบนี้ (อันนี้มีแต่ของเล่นจีนใหม่ๆ) เก็บไปเก็บมา ตอนนี้กลายเป็นไปเก็บของโบราณบางอย่างที่มันเกิดความรู้สึกผูกพันธ์ในวัยเด็กเยอะขึ้นๆ จนชักจะรกบ้านแล้วครับ 555+

  4. อยากซื่อจัง

  5. สั่งซื่อได้มั้ยชอบมาก0805480426

  6. ของผมมีอยู่ไม่มาก หามาเก็บไว้ชมแก้คิดถึงเฉยๆ ครับ ^_^

RSS feed for comments on this post · TrackBack URI

ใส่ความเห็น