John Philip Sousa ราชาเพลงมาร์ช

เพลงนี้มีชื่อว่าเพลง Stars and Stripes Forever ประพันธ์โดยราชาเพลงมาร์ช John Philips Sousa…  

ในสมัยแรกๆ ของพวกเรา อาจารย์ประทินฯ ซึ่งถิ่นฐานก่อนจะมาเป็นมาสเตอร์สอนดุริยางค์ที่ โรงเรียน อัสสัมชัญ สำโรง นั้น มาจากฝั่งของกองดุริยางค์ทหารบก เพราะฉนั้นเพลงที่พวกเราเล่นกันในยุคแรกๆ ก็หนีไม่ออกสไตล์จำพวกเพลงมาร์ช และโดยเฉพาะเพลงมาร์ชที่เป็นผลงานของบรมครูนามว่า John Philips Sousa… 

เพลง Stars and Stripes Forever นี้ ที่ประทับใจก็เพราะจะมีช่วง Solo  เครื่องดนตรี Piccolo โดยนายตุ้ม-นิยม เวลาที่พวกเราเล่นเพลงนี้ทีไร จะรู้สึกว่าเพื่อนเราหล่อเป็นพิเศษทุกที… 

สำหรับเพลงอื่นๆ ด้วยความชราของกระผมเองและเพื่อนๆ บางท่าน ทำให้อาจลืมชื่อเพลงไปแล้ว แต่คาดว่าถ้าได้ยินเสียงก็จะนึกอ๋อ..ขึ้นมาทันที จึงขอยกตัวอย่างให้ฟังกันสัก 3-4 เพลง ตามนี้… 

 

 

 เพลงนี้ ท่าน บุ๊ง-มนตรี เป็นคนแนะนำ Link ให้ครับ 

 

 

เพลงนี้ชอบมาก เพราะเมื่อครั้งยังเล่นดนตรีกันอยู่ สุดหล่อทั้ง 4 คน

มีช่วงโอกาสได้ Solo Snare กันด้วย

 

 

 

 

 

จากคอลัมน์ เปิดหู ปิดตา ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ

ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2550

โดย คุณ อัษฎา อาทรไผท

 

ได้ลงบทความของ John Philips Sousa ไว้อย่างน่าอ่าน ดังนี้  

นักประพันธ์เพลงมาร์ชที่ถือว่าเป็นปรมาจารย์ ที่คนอเมริกัน และทั่วโลกยอมยกให้เป็น ราชาแห่งเพลงมาร์ชทหาร จะเป็นใครอื่นใดไปไม่ได้นอกเสียจาก John Philip Sousa (1854-1932) นักประพันธ์ผู้วาดลวดลายแกว่งไม้ Baton คุมวง U.S. Marine Band ในช่วงปลายยุค Romantic Period 

ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า Sousa นั้นมีหูเที่ยงตรงเป็น Perfect Pitch นั่นคือได้ยินเสียงอะไรมา ก็สามารถบอกได้ว่าเป็นโน้ตอะไร ซึ่งน้อยคนนักจะมีพรสวรรค์เช่นนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น บิดาของเขาซึ่งก็เป็นนักดนตรี จึงส่งเสริมให้เล่นดนตรี โดยเริ่มจากไวโอลินเมื่ออายุได้ 6 ปี ต่อมาเมื่อย่างเข้าช่วงวัยรุ่น บิดาของ Sousa ได้ฝากให้ไปร่ำเรียนวิทยายุทธดนตรีกับวง U.S. Marine Band จนบรรลุถึงขั้นสามารถเล่นเครื่องเป่าได้ทุกชิ้น จากนั้นเขาไปหาประสบการณ์ทางด้าน conductor เพิ่มจากวง orchestra ในโรงละคร ก่อนจะกลับมารับตำแหน่งหัวหน้าและไวทยากรของวง U.S. Marine Band ในปี 1880-1892 หลังจากนั้นเขาได้ตั้งวงดนตรีของตัวเอง และตระเวนแสดงไปทั่ว และยังได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศสหรัฐอเมริกา ไปแสดงที่งาน Paris Exposition อันยิ่งใหญ่ ก่อนจะตระเวนทัวร์แสดงสดทั่วยุโรป  

ตลอดเวลาที่ยังหายใจเป็นเพลง เขาได้สรรค์สร้างบทเพลงมาร์ชไว้ให้ผู้คนได้พากันย่ำเท้าตามมากมายกว่า 100 เพลง ในช่วงชีวิตของเรา ผมแน่ใจได้เลยว่าต้องเคยเผลอได้ยิน เพลงมาร์ชของเขาไปกันหมดแล้วโดยไม่รู้ตัว ส่วนเพลงที่ถือว่าเป็นที่สุดของท่าน จะเป็นเพลงไหนไม่ได้นอกจาก Stars and Stripes Forever เพลงมาร์ชที่สภา congress แห่งสหรัฐอเมริกา มีมติให้เป็นเพลงมาร์ชประจำชาติอย่างเป็นทางการ 

หากแต่ตอน Sousa แต่งเพลงนี้ เขาไม่ได้นึกถึงเรื่องรักชาติแต่อย่างใด เพราะแรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลงนี้ เกิดขึ้นในช่วงเทศกาล Christmas เขาเดินทางท่องเที่ยวยุโรปกับภริยาในปี 1896 ขณะกำลังจะลงเรือเดินทางกลับอเมริกา เขาได้ทราบข่าวถึงการจากไปอย่างกะทันหันของผู้จัดการวงของเขา การตระเวนทัวร์คอนเสิร์ตทั่วยุโรปก็กำลังจะเริ่มขึ้นในอีกไม่นาน ทำให้เขาครุ่นคิดถึงการที่ต้องมารับผิดชอบเตรียมวางแผนการจัดการกับวงดนตรีของเขาอย่างไรดี นึกไปนึกมา ก็บังเกิดแว่วเสียงดนตรีมาร์ชขึ้นมาในหัวของเขา วันเวลาบนเรือผ่านไปเรื่อยๆ เสียงเมโลดี้เดิมๆ เริ่มชัดเจนขึ่นทีละนิดทีละหน่อย จนเริ่มเป็นชิ้นเป็นอัน เขายังคงปล่อยให้วงดนตรีในสมองของเขาบรรเลงต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้บันทึกลงแผ่นกระดาษ เมื่อเดินทางถึงบ้านเขาก็เริ่มเขียนตัวโน้ตลงบนกระดาษตามที่ได้ยินบรรเลงอยู่ในหัวของเขา จากวันนั้นจนถึงการแสดงสุดท้ายไม่ว่าจะไปแสดงที่ไหน วงของเขาจะต้องบรรเลงเพลง Stars and Stripes Forever! ทุกครั้งไป 

เมื่อปี 1909 Sousa ได้บันทึกเสียงเพลงนี้ลงแผ่นเสียง แต่เมื่อเวลาผ่านไปเฉียด 100 ปี แผ่นเสียงที่ว่านั้นหาฟังได้ยากเย็นยิ่ง หรือหากโชคดีหาเจอ ก็คงหาเครื่องที่เล่นระบบโบราณได้ยาก ยังดีที่มีไวทยากรหลายท่าน นำเพลงๆ นี้มาบรรเลงใหม่ โดยมีให้เลือกฟังกันมากมายหลาย version เร็วบ้าง ช้าบ้าง แต่หลังจากตระเวนทั่วกรุงเทพฯ ผมหาเจอเพียงของ Band of H.M. Royal Marine แห่ง Royal Marines School of Music เป็นซีดีคู่มีเพลงอยู่ 43 เพลง เป็นแผ่นของ EMI หากสนใจจริงๆ สามารถไปฟังตัวอย่างได้จาก http://www.amazon.com จะมีให้เลือกหลายแผ่น และหากติดใจก็สั่งสามารถซื้อทางอินเทอร์เน็ตได้เลย จะได้มีเพลงคลาสสิกคึกคักไว้เปิดปลุกใจตัวเองในยามที่บ้านเมือง มีแต่เรื่องให้ร้อนใจ

1 ความเห็น »

  1. Link นี้ เพื่อนผม คุณ เอ-ณรงค์เดช ส่งมาให้ ดูแล้วสนุกมากครับ

RSS feed for comments on this post · TrackBack URI

ใส่ความเห็น